โซน Supply และ Demand - วิธีดูโซนที่เหมาะสม

แชร์สิ่งนี้:

OANDA - 2024 için En İyi Forex Broker

เงินทุนของคุณมีความเสี่ยง

วิธีการหาโซน Supply และ Demand เพื่อการเทรดอย่างเหมาะสม:

  • เมื่อมีความต้องการ (Demand) ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งสูงกว่าปริมาณในตลาด (Supply) ราคาก็จะพุ่งขึ้น ซึ่งเห็นได้จากกราฟแท่งเทียนสีเขียวแท่งใหญ่

  • เมื่อ Supply ที่มีอยู่มากกว่า Demand ราคาก็จะร่วงลง ซึ่งเห็นได้จากแท่งเทียนสีแดงแท่งใหญ่

กฎแห่งอุปสงค์ (Supply) และอุปทาน (Demand) คือสิ่งที่ควบคุมตลาดทุกแห่ง เมื่อพูดถึงการเทรดในตลาด นักเทรดส่วนใหญ่จะอาศัยอินดิเคเตอร์เชิงเทคนิคในการหาความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน

อย่างไรก็ดี หลายคนใช้วิธีดูแนวโน้มและโซน Supply และ Demand เพื่อพัฒนาเป็นกลยุทธ์ตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์

ธนาคารและสถาบันที่คล้ายกันอื่น ๆ สร้างโซนเหล่านี้ขึ้นมา ซึ่งเป็นบริเวณราคาที่มีคำสั่งที่ยังไม่ได้เติมเต็ม ซึ่งจะต้องมีการเติมเต็มคำสั่งให้สมบูรณ์ การเข้าใจหลักการ Supply และ Demand นั้น นักเทรดจะต้องหาคำสั่งเทรดของ Smart Money (เจ้ามือหรือผู้เล่นรายใหญ่) บนกราฟราคา นอกจากนี้ยังจำเป็นในการหาโซน Supply และ Demand อย่างถูกต้องอีกด้วย

ในบทความฉบับนี้ คุณจะได้ศึกษารายละเอียดว่าโซน Supply และ Demand คืออะไร และคุณสามารถสังเกตมันบนกราฟราคาได้อย่างไร

เริ่มเทรด Forex ตอนนี้กับ OANDA!
เงินทุนของคุณมีความเสี่ยง

โซน Supply และ Demand คืออะไร?

ก่อนที่จะเริ่มศึกษาว่าจะหาโซน Supply และ Demand บนกราฟราคาได้อย่างไร คุณจำเป็นต้องทำความเข้าใจหลักการเหล่านี้อย่างครบถ้วนก่อน งั้นเรามาเริ่มกันที่แต่ละโซนตามลำดับ

โซน Supply

โซนอุปทาน หรือในที่นี้เรียกว่าโซน Supply คือบริเวณระดับราคาที่นักเทรดมักขาย บริเวณนี้จะอยู่เหนือราคาปัจจุบัน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความสนใจและศักยภาพของคำสั่งขายอยู่มากที่สุด

เมื่อราคาขยับถึงระดับราคาในโซน Supply คำสั่งขายที่ไม่ได้เติมเต็มก็จะถูกเติมเต็มโดยสมบูรณ์ และพาราคาให้ลดลง ลองใช้กราฟด้านล่างนี้เพื่อช่วยทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการโซน Supply อย่างกระจ่างมากขึ้น

Supply zone

Supply zone

กราฟด้านบนนี้แสดงราคาที่กำลังไปถึงโซนราคาโซนหนึ่ง (บริเวณสีแรเงา) และจากนั้นราคาก็จะขยับลดลง วัฎจักรนี้จะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ จนกว่าคำสั่งขายทั้งหมดที่ยังไม่เติมเต็มจะถูกเติมเต็ม

Vùng cầu (Demand zone)

โซน Demand คือบริเวณระดับราคาที่นักเทรดมักเข้าซื้อ บริเวณนี้อยู่ด้านล่างราคาปัจจุบัน ซึ่งมีความสนใจหรือศักยภาพในการเข้าซื้อสูงสุด โซน Demand ที่ชัดเจนมักจะมีผู้ซื้อหลายคนรอวางคำสั่งซื้อที่ระดับดังกล่าว

กราฟด้านล่างจะช่วยให้คุณทำความเข้าใจหลักการโซน Demand อย่างเหมาะสมมากขึ้น

Demand zone

Demand zone

ในกราฟนี้ คุณจะเห็นได้ว่ากราฟขยับขึ้นด้านบนอย่างต่อเนื่องหลังจากตกลงมาที่โซน Demand (บริเวณสีแรเงา)

ประเภทหลักของโซน Supply และ Demand

สิ่งสำคัญคือ การทำความเข้าใจรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับโซน Supply และ Demand เช่นเดียวกันกับการวิเคราะห์รูปแบบราคาแบบดั้งเดิม โซน Supply และ Demand ก็มีรูปแบบที่บ่งบอกว่ากราฟจะกลับตัวหรือไปต่อเช่นกัน

รูปแบบการกลับตัว

รูปแบบเหล่านี้ส่วนใหญ่หมายถึงสถานการณ์ที่แนวโน้มราคากลับตัว (reversal) จากล่างขึ้นบน หรือบนลงล่าง เราจะให้ตัวอย่างสองโครงสร้างด้านล่าง เพื่อช่วยให้เห็นภาพรูปแบบเหล่านี้อย่างชัดเจนมากขึ้น:

  • Drop-Base-Rally: ในโครงสร้างนี้ ราคาจะขยับลง (drop) ด้านล่าง และพักตัวอยู่ที่ระดับนั้น ๆ ในระยะหนึ่งเพื่อทำฐาน (base) และหลังจากนั้นก็จะทะยานขึ้น (rally) ด้านบน

  • Rally-Base-Drop: ในโครงสร้างนี้ ราคาจะทะยานขึ้นด้านบน (rally) สร้างฐาน (base) และจากนั้นก็จะลดฮวบลง (drop)

Drop-base-rally และ rally-base-drop

Drop-base-rally และ rally-base-drop

บนกราฟราคาด้านล่าง คุณสามารถสังเกตเห็นโซน Supply ได้ทางด้านซ้ายมือสุด และโซน Demand ในสองโครงสร้างถัดไป

How to identify the supply and demand zones

วิธีสังเกตโซน Supply และ Demand

ในโซน Supply คุณจะเห็นว่าราคาจะพุ่งขึ้น และพักตัวระยะหนึ่ง และจากนั้นก็ลดตัวลงอย่างฉับพลัน หลังจากโครงสร้างแบบ rally-base-drop สิ่งที่น่าสังเกตก็คือ ลักษณะการออกจากโครงสร้าง base ของราคา แท่งเทียนขนาดใหญ่ที่พาราคาทรุดตัวแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของการขาดสมดุล Supply-Demand ที่ระดับราคาดังกล่าว

ในโครงสร้างโซน Demand คุณจะเห็นได้ชัดเจนว่าราคาลดลงเป็นอย่างมาก หลังจากนั้นก็เกิดเป็นฐาน (base) ก่อนที่ราคาจะทะยานกลับขึ้นมาตามโครงสร้าง drop-base-rally

รูปแบบราคาไปต่อ

รูปแบบราคาไปต่อ (continuation) หมายถึงสถานการณ์ที่แนวโน้มราคาขยับขึ้นเพื่อจะลงต่อ หรือขยับลงเพื่อจะขึ้นต่อ รูปแบบเหล่านี้มักมีความอ่อนแอ ส่วนใหญ่แล้ว ราคามักทะลุออกจากโครงสร้างเหล่านี้ ลองดูโครงสร้างสองประเภทนี้เพื่อทำความเข้าใจรูปแบบการไปต่อของกราฟได้ชัดเจนขึ้น:

  • Drop-Base-Drop: ในโครงสร้างนี้ ราคาจะลดลง หยุดพักสักระยะหนึ่งเพื่อสร้างฐาน และจากนั้นก็จะขยับลงต่ออย่างรุนแรง

  • Rally-Base-Rally: ในโครงสร้างนี้ ราคาจะขยับขึ้น หยุดพักระยะหนึ่งเพื่อสร้างฐาน และจากนั้นก็ขยับขึ้นด้านบน

Drop-base-drop และ rally-base-rally

Drop-base-drop และ rally-base-rally

บนกราฟด้านล่างนี้ โซน Demand จะสังเกตเห็นได้บนด้านซ้ายมือสุด และโซน Supply จะเห็นได้ในสองโครงสร้างถัดไป

วิธีสังเกตโซน Supply

วิธีสังเกตโซน Supply

ในโซน Demand คุณจะเห็นได้ว่าราคาทะยานขึ้น จากนั้นจะหยุดรอสักพักเพื่อสร้างฐาน ก่อนที่จะขยับขึ้นต่อไปตามโครงสร้าง rally-base-rally แท่งเทียนขนาดยาวแสดงถึงความต่อเนื่องของราคาขาขึ้น

ในโซน Supply คุณจะเห็นราคาลดฮวบลงเป็นอย่างมาก จากนั้นจะรอสร้างฐานพักหนึ่ง และจึงจะขยับลงด้านล่างตามโครงสร้าง drop-base-drop

รูปแบบการกลับตัวมีโอกาสสำเร็จมากกว่ารูปแบบกราฟไปต่อ เพราะว่ารูปแบบการกลับตัวจะแข็งแกร่งกว่า มีโมเมนตัมมากกว่า

วิธีสังเกตโซน Supply และ Demand บนกราฟ

การหาความไม่สมดุลของตลาดเป็นขั้นแรกของการหาโซน Supply และ Demand กล่าวง่าย ๆ ก็คือ ความไม่สมดุลในตลาดมักจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของราคาในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง (ขาขึ้นหรือลง) ตามหลักอุปสงค์และอุปทาน

กราฟด้านล่างนี้แสดงให้เราเห็นว่า:

  • เมื่อมีอุปสงค์ (Demand) สำหรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากกว่าอุปทาน (Supply) ราคาจะทะยานขึ้น ซึ่งเห็นได้จากแท่งเทียนสีเขียวแท่งใหญ่

  • เมื่อ Supply ที่ปรากฏมีมากกว่า Demand ราคาจะลดลง แสดงให้เห็นในรูปแบบแท่งเทียนสีแดงแท่งใหญ่

วิธีสังเกตโซน Demand และ Supply

วิธีสังเกตโซน Demand และ Supply

แท่งเทียนขนาดใหญ่เหล่านี้แสดงการเคลื่อนไหวของราคาที่สะท้อนให้เห็นถึงความไม่สมดุลของตลาดบนกราฟ สิ่งสำคัญที่ต้องจดจำเมื่อพยายามหาจังหวะที่ตลาดขาดสมดุลคือ การให้ความสำคัญกับแท่งเทียนแท่งใหญ่ หรือที่เรียกว่าแท่งเทียนขยายตัวชุดใหญ่ "Extended Range Candles" (ERCs)

ตอนนี้คุณก็สามารถหาจุดที่ตลาดขาดสมดุลบนกราฟได้อย่างไม่ยากแล้ว คุณสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนที่สำคัญ 3 ขั้นตอนนี้เพื่อหาโซน Demand และ Supply

ขั้นที่ 1: สังเกตราคาปัจจุบัน

อันดับแรก คุณจำเป็นต้องสังเกตราคาปัจจุบันบนกราฟ จากนั้นให้มองไปที่ด้านซ้ายมือของกราฟ และหาแท่งเทียนที่ใหญ่และยาว ไม่ว่าจะขึ้นหรือลง โดยทั่วไปแล้ว โซน Supply จะมีแท่งเทียนราคาขาขึ้นอย่างแข็งแกร่งขึ้นมาก่อน ในขณะที่โซน Demand มักจะแสดงการเคลื่อนที่ของราคาขาลงอย่างแข็งแกร่งก่อนโซนดังกล่าว

วิธีสังเกตราคาปัจจุบัน

วิธีสังเกตราคาปัจจุบัน

ขั้นตอนที่ 2: หา ERCs

ตอนนี้ถึงเวลาหา ERCs (แท่งเทียนขยายตัวชุดใหญ่) คุณสามารถสังเกตดูแท่งเทียนเหล่านี้ ซึ่งจะมีช่วงลำตัวที่ยาว และแทบไม่มีไส้เทียน อย่าลืมว่าหากมีแท่งเทียนไหนที่ขนาดช่วงลำตัวและไส้เทียนเท่ากัน จะไม่ถือว่าเป็น ERC โดยกราฟแบบ ERCs ควรมีหน้าตาดังนี้บนกราฟราคา:

วิธีค้นหา ERCs

ขั้นตอนที่ 3: หาจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนที่ราคา

อันดับสุดท้าย คุณจำเป็นต้องหาจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนที่ของราคาบนกราฟ อย่างในกราฟด้านล่างนี้ ราคาขยับขึ้นมาพร้อมกับแท่งเทียนขนาดเล็ก ๆ หลายแท่งติดต่อกัน ราคาพักตัวระยะหนึ่ง และหลังจากนั้นก็ลดฮวบลงด้วยแท่งเทียน ERCs สองชุดใหญ่ นี่คือจุดเริ่มต้นที่เราต้องการเพื่อหาฐานของโซน Supply ซึ่งฐานนี้เองที่จะช่วยให้เราวาดโซนได้

วิธีสังเกตจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนที่ของราคา

วิธีสังเกตจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนที่ของราคา

อินดิเคเตอร์โซน Supply และ Demand ที่ดีที่สุด

มีอินดิเคเตอร์มากมายที่คุณสามารถใช้เพื่อยืนยันโซน Supply และ Demand บนกราฟราคา ตัวอย่างอินดิเคเตอร์ที่ดีที่สุด ได้แก่

Pivot points

นักเทรดส่วนใหญ่ใช้จุด pivot points รายวันหรือรายสัปดาห์ในการหาโซน Supply และ Demand ที่เป็นไปได้ ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่าเป็นระดับแนวรับและแนวต้าน จุดเหล่านี้คืออินดิเคเตอร์การวิเคราะห์เชิงเทคนิคที่บ่งบอกราคาเฉลี่ยของราคาสูงสุด ต่ำสุด และราคาปิดของวันทำการก่อนหน้า

ระดับแนวรับและแนวต้าน

หลักการแนวรับและแนวต้านช่วยให้นักเทรดเข้าใจและประเมินกราฟรูปแบบต่าง ๆ แนวรับหมายถึงระดับราคาที่แนวโน้มขาลงจะหยุดลง เนื่องด้วยมี Demand สำหรับสินทรัพย์ที่บริเวณนั้น

ในทางกลับกัน แนวต้านอธิบายถึงระดับราคาที่การเคลื่อนไหวในขาขึ้นจะกลับตัวลงเพราะการถูกเทขาย

Fibonacci levels

Fibonacci levels ช่วยให้นักเทรดหาจุดกลับตัวที่โซน Supply และ Demand ในกราฟด้านล่างนี้เป็นระดับปรับฐานของ Fibonacci retracement ที่ 61.8% ที่ทำหน้าที่เป็นระดับ Supply/แนวต้านที่สำคัญ

Fibonacci levels

Fibonacci levels

วิธีวาดโซน Supply และ Demand

หลังจากสังเกตเห็นโซน Supply และ Demand บนกราฟแล้ว ตอนนี้คุณสามารถวาดโซนเหล่านี้ได้ด้วยตนเอง

โซน Supply มักมีโครงสร้างแบบ rally-base-drop หรือ drop-base-drop คุณสามารถวาดได้สามวิธีด้วยกัน คือ:

  • วิธีวาดโซนแบบระมัดระวัง: ในโครงสร้างฐาน (Base) เส้นปลาย (เส้นแรก หรือ Distal Line) จะต้องวาดอยู่ที่จุดบนสุดของไส้เทียนของแท่งเทียนบนสุด ในที่นี้คือฐานแท่งเทียน และเส้นใกล้เคียง (เส้นที่สองหรือ Proximal Line) ซึ่งจะต้องวางที่จุดต่ำสุดของลำตัวแท่งเทียนที่เป็นฐาน

วิธีแบบระมัดระวัง

วิธีแบบระมัดระวัง

  • วิธีวาดแบบความเสี่ยงสูง: ในโครงสร้าง Base ให้วาดเส้นแรกที่ไส้เทียนสูงสุด และเส้นที่สองที่จุดล่างสุดของไส้เทียนของแท่งเทียนที่เป็น Base

  วิธีแบบความเสี่ยงสูง

วิธีแบบความเสี่ยงสูง

  • วิธีแบบความเสี่ยงต่ำ: ในโครงสร้าง Base ให้วาดเส้นแรกที่ไส้เทียนสูงสุดของแท่งเทียนที่เป็น Base และวาดเส้นที่สองที่ราคาสูงสุดในช่วงลำตัวของแท่งเทียน Base

วิธีแบบความเสี่ยงต่ำ

วิธีแบบความเสี่ยงต่ำ

อีกด้านหนึ่งก็คือ โซน Demand เป็นได้ทั้งแบบ drop-base-rally หรือ rally-base-rally ส่วนโซน Supply คุณสามารถวาดโซน Demand ได้สามวิธี แต่ในทางตรงกันข้าม

  • วิธีแบบระมัดระวัง: ในโครงสร้าง Base เส้นแรกจำเป็นต้องอยู่ที่ไส้เทียนต่ำสุดของแท่งเทียนฐาน และเส้นที่สองควรอยู่ที่ราคาสูงสุดของส่วนลำตัวของแท่งเทียนฐาน

วิธีแบบระมัดระวัง

วิธีแบบระมัดระวัง

  • วิธีแบบเสี่ยงสูง: ในโครงสร้าง Base จะใช้วิธีวาดเส้นแรกที่จุดล่างสุดของไส้เทียนของแท่งเทียนฐาน และเส้นที่สองที่จุดสูงสุดของไส้เทียนของแท่งเทียนฐาน

วิธีแบบเสี่ยงสูง

วิธีแบบเสี่ยงสูง

  • วิธีแบบเสี่ยงต่ำ: ในโครงสร้าง Base วาดเส้นแรกที่ไส้เทียนต่ำสุดของแท่งเทียนฐานะ และเส้นที่สองที่จุดต่ำสุดของลำตัวแท่งเทียนฐาน

Phương pháp rủi ro thấp

Phương pháp rủi ro thấp

กลยุทธ์การเทรดโซน Supply และ Demand ดีที่สุด

หากคุณกำลังมองหากลยุทธ์การเทรดฟอเร็กโดยใช้โซน Supply และ Demand ขอแนะนำให้คุณลองศึกษากลยุทธ์เหล่านี้:

กลยุทธ์ Range Trading

หากโซน Supply และ Demand เป็นโซนที่แข็งแกร่ง คุณสามารถเลือกใช้กลยุทธ์การเทรดแบบในกรอบ (range trading) นักเทรดส่วนใหญ่มักใช้อินดิเคเตอร์ Stochastic เพื่อสภาวะตลาดที่มีแรงซื้อมากเกิน (overbought) และแรงขายมากเกิน (oversold) เนื่องจากการเทรดในกรอบเป็นการเทรดแบบไม่มีทิศทาง (ตามแนวโน้ม) คุณจึงสามารถหาจุดเข้าซื้อและขายในตลาดฟอเร็กซ์ได้อย่างไม่ยาก

เมื่อคุณเห็นสภาวะทั้งหมดบนกราฟใน timeframe ที่นานขึ้นแล้ว คุณก็สามารถซูมเข้าไปดู timeframe ที่เล็กลง เพื่อหาจุดเข้าเทรดที่ดีที่สุด

กลยุทธ์ Range trading

กลยุทธ์ Range trading

กลยุทธ์ Breakout

เนื่องจากราคามักมีความผันผวนในตลาดฟอเร็กซ์ นักเทรดจึงมักมองหาวิธีเข้าสู่ตลาดในเงื่อนไขที่เป็นมิตร เช่น ในทิศทางที่ราคาทะลุหรือที่เรียกว่า breakout ออกจากกรอบการเทรดแคบ ๆ ซึ่งอาจเป็นการเริ่มต้นของเทรนด์ระยะยาวได้

ลองดูตัวอย่างกราฟ USD/JPY ซึ่งเป็นคู่ระหว่างดอลลาร์สหรัฐฯ กับเยนญี่ปุ่น กราฟด้านล่างนี้แสดงให้เห็นว่าราคาทะลุออกจากกรอบการเทรด แต่ราคาตกลงไปอย่างรวดเร็วกลับไปยังโซน Demand ซึ่งเรียกว่าเป็นการ Breakout หลอก (false breakout) นักเทรดที่เข้าซื้อตอนราคาทะลุออกด้านบนรู้ดีว่าราคาเข้ามาถึงโซน Supply และย่อมเก็บกำไร แต่ถ้าเก็บไม่ทัน กำไรนั้นก็สามารถเปลี่ยนเป็นการขาดทุนอย่างหนักได้อย่างรวดเร็ว

กลยุทธ์ Breakout

กลยุทธ์ Breakout

กลยุทธ์บริหารความเสี่ยง

โซน Demand/แนวรับ และ Supply/แนวต้านทำงานได้ดีทั้งในการให้ข้อมูลให้กับนักเทรดเกี่ยวกับจุดที่ควรเข้าเทรด

วิธีนี้ช่วยให้นักเทรดสามารถใช้กลยุทธ์การเทรดที่แตกต่างกันไป เช่น นักเทรดที่เทรดตามกรอบจะขายที่โซน Supply และวางคำสั่ง stop ไว้เหนือโซน Supply เพื่อจำกัดความเสี่ยง ในขณะเดียวกันก็มุ่งหวังกำไรเมื่อราคาขยับลงด้านล่าง กลับไปยังโซน Demand เดิม

กลยุทธ์บริหารความเสี่ยง=

กลยุทธ์บริหารความเสี่ยง

กฎ/กติกาของ Supply และ Demand

หลักการ Supply และ Demand ก่อให้เกิดรากฐานของเศรษฐศาสตร์และเป็นหลักการหลักในการเทรดเช่นกัน เมื่อเราพูดถึง “กฎ” และ “กติกา” ของ Supply และ Demand ในการเทรด เรากำลังพูดถึงการหาลักษณะหรือ “โซน” ใด ๆ บนกราฟ ซึ่งราคาแสดงปฏิกิริยาตอบสนองอย่างชัดเจน ลักษณะเหล่านี้สามารถจัดหมวดหมู่ ได้แก่ เวลา ความแข็งแกร่ง และความใหม่ของโซน

เวลา

เวลาแสดงถึงระยะเวลาของราคาที่คงอยู่ในโซน Supply หรือ Demand หากราคาอยู่ในโซนไหนเป็นเวลานาน มักบ่งบอกว่าโซนนั้นมี Supply หรือ Demand ที่แข็งแกร่ง ยิ่งใช้เวลาในโซนนั้นมากเท่าไรก่อนที่ราคาจะขยับอย่างรุนแรง แปลว่าโซนดังกล่าวยิ่งแข็งแกร่งมากขึ้น

ความแข็งแกร่ง

ความแข็งแกร่งเกี่ยวกับว่า ราคาขยับออกจากโซน Supply หรือ Demand อย่างรวดเร็วและรุนแรงมากเท่าไร การเคลื่อนที่ที่รุนแรงออกจากโซนแสดงถึงการขาดสมดุลของ Supply และ Demand ที่สำคัญที่ระดับนั้น ยิ่งการเคลื่อนที่มีความแรงมากเท่าไร แปลว่ามีความไม่สมดุลระหว่างฝั่งผู้ซื้อและผู้ขายมากเท่านั้น ดังนั้น โซนดังกล่าวจึงยิ่งมีความสำคัญสำหรับโอกาสการเทรดในอนาคต

ความใหม่ของโซน

ความใหม่เกี่ยวข้องกับว่า ราคาได้ไปถึงโซน Supply หรือ Demand กี่ครั้ง โซนที่ใหม่ แปลว่า ราคายังไม่เคยกลับมาถึงโซนนั้นนับตั้งแต่ที่โซนเกิดขึ้น และมักเป็นโซนที่มีประสิทธิภาพสำหรับการเทรด ทุกครั้งที่ราคากลับไปยังโซน มันจะเติมเต็มคำสั่งส่วนหนึ่งเสมอ โซนที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่จึงมีแนวโน้มที่จะมีคำสั่งที่ยังไม่เติมเต็มกระจุกตัวอยู่มาก และทำให้มีโอกาสสูงที่จะเกิดปฏิกิริยาตอบสนองอย่างแข็งแกร่งมากขึ้นเมื่อราคามาถึงโซนดังกล่าว

การทำความเข้าใจหลักการเหล่านี้ด้วยภาพบนกราฟช่วยนักเทรดได้ จึงควรพิจารณาเลือกแพลตฟอร์มเทรดที่คุณสามารถวาดโซน Supply และ Demand สังเกตระยะเวลาที่ราคาพักตัวก่อนจะเคลื่อนไหวออกจากโซน และเฝ้าดูการกลับมายังโซน เมื่อเวลาผ่านไป คุณจะเริ่มเข้าใจว่าหลักการเหล่านี้สามารถนำไปใช้งานในสถานการณ์เทรดจริงได้อย่างไร ฝึกกับบัญชีทดลองก่อนจนกว่าคุณจะรู้สึกสบายใจที่จะนำหลักการเหล่านี้ไปใช้ในการเทรดจริง

5 เคล็ดลับสำหรับมือใหม่เพื่อการเทรด Supply และ Demand อย่างประสบความสำเร็จ

Supply และ Demand เป็นหลักการพื้นฐานในการเทรด Forex โดยเป็นสิ่งที่กำกับเทรนด์และจุดกลับตัวทั้งหมดในตลาด โซนเหล่านี้แสดงถึงความสมัครใจของฝั่งผู้ซื้อหรือผู้ขายในตลาดในระดับราคาต่าง ๆ ในฐานะนักเทรดมือใหม่ การฝึกศิลปะการอ่าน Supply และ Demand ให้เชี่ยวชาญอาจช่วยพลิกเกมของคุณจากหน้ามือเป็นหลังมือได้ ต่อไปนี้คือเคล็ดลับ 5 ข้อที่จะช่วยให้คุณเข้าใจหลัก Demand และ Supply ในการเทรดอย่างประสบความสำเร็จ:

  1. ใช้ประกอบกับการวิเคราะห์เชิงเทคนิค: การทำความเข้าใจ Supply และ Demand เพียงอย่างเดียวนั้นไม่พอ หลักการเหล่านี้จะต้องใช้ประกอบกับการวิเคราะห์เชิงเทคนิค ซึ่งรวมถึงการศึกษารูปแบบกราฟ การเคลื่อนที่ของราคา และอินดิเคเตอร์ต่าง ๆ การทำความเข้าใจเรื่องเหล่านี้จะช่วยให้คุณเห็นภาพว่าตลาดอาจตอบสนองต่อเงื่อนไขของ Supply และ Demand อย่างไร

  2. การบริหารความเสี่ยง: จงใช้กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงที่ดีเสมอ นำเงินทุนมาเสี่ยงในอัตราเปอร์เซ็นต์เล็กน้อยเท่านั้นในแต่ละการเทรด โดยทั่วไปไม่ควรเกิน 1-2% วิธีนี้จะช่วยให้คุณทนทานต่อการขาดทุนได้หลายครั้ง โดยไม่ล้างพอร์ต และให้โอกาสให้คุณพัฒนากลยุทธ์ได้ในระยะยาว

  3. ค้นหาการขาดสมดุลที่มีนัยสำคัญ: มองหาความไม่สมดุลที่มีนัยสำคัญระหว่าง Supply และ Demand ซึ่งอาจช่วยบ่งบอกโอกาสการเทรด ทำได้โดยการค้นหาโซนที่พาราคาขยับขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็ว

  4. ใช้กรอบเวลา (timeframe) ที่นานขึ้น: ในฐานะมือใหม่ ควรเริ่มจาก timeframe ที่นานขึ้น เช่น Daily หรือ Weekly เพราะจะให้ภาพรวมตลาดที่ชัดเจนกว่า และเจอคลื่นรบกวนในตลาดน้อยกว่าในกราฟใน timeframe ที่สั้นกว่า

  5. ใช้อินดิเคเตอร์เพื่อการยืนยัน: แม้ว่าทฤษฎี Supply และ Demand อาจใช้ได้ผลดีมาก การใช้อินดิเคเตอร์เพิ่มเติมเพื่อยืนยันสามารถเพิ่มความมั่นใจให้มากขึ้น อินดิเคเตอร์ Volume, Relative Strength Index (RSI) หรือ Moving Averages สามารถช่วยยืนยันการวิเคราะห์ Supply และ Demand ของคุณ

ข้อดีและข้อเสียของการเทรด Supply & Demand

แม้ว่าแนวทางนี้จะมีข้อดีหลายประการ แต่ก็มาพร้อมกับความท้าทายหลายอย่างเช่นกัน ลองดูตัวอย่างข้อดีและข้อเสียดังนี้:

👍 ข้อดี

ความเรียบง่าย:
การเทรดด้วย Supply และ Demand เป็นการเทรดที่นำไปใช้ได้ง่ายและมีความตรงไปตรงมา โดยอ้างอิงจากหลักการเศรษฐศาสตร์พื้นฐานในการกำหนดราคาที่อุปสงค์และอุปทานมาเจอกัน

ใช้ได้กับทุกตลาด:
หลักการ Supply และ Demand ใช้ได้กับตลาดทุกประเภทที่มีกิจกรรมการซื้อและขาย จึงเป็นกลยุทธ์การเทรดที่ใช้ได้อย่างเป็นสากล

มีลักษณะที่ทำนายได้:
โซน Supply และ Demand อาจบ่งชี้ถึงการเคลื่อนที่ของราคาในอนาคต นักเทรดจึงสามารถคาดการณ์การเทรดที่เกิดขึ้นได้

ความเสี่ยงและผลตอบแทนชัดเจน:
โซนเหล่านี้ยังให้จุดเข้าเทรดที่ชัดเจน รวมถึง Stop Loss และเป้าหมาย Take Profit ซึ่งช่วยในการบริหารจัดการความเสี่ยงและผลตอบแทนเป็นอย่างดี.

👎 ข้อเสีย

ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล:
การหาโซน Supply และ Demand อาจขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคนได้บ้าง และนักเทรดแต่ละคนอาจมีวิธีดูแตกต่างกันไป การขาดมาตรฐานนี้อาจนำมาสู่ความคลาดเคลื่อนในการใช้งานจริง

การเพิกเฉยต่อคลื่นรบกวนในตลาด:
การเคลื่อนที่ขนาดเล็กของราคาหรือ “คลื่นรบกวน” ในโซน Supply และ Demand อาจทำให้เกิดสัญญาณเท็จ ซึ่งส่งผลให้นักเทรดเข้าหรือออกการเทรดเร็วเกินไปได้

ดัชนีตามหลัง:
โดยทั่วไปแล้ว โซน Supply และ Demand จะขึ้นอยู่กับข้อมูลในอดีต ซึ่งหมายความว่ามันอาจไม่สามารถทำนายการเคลื่อนที่ของราคาในอนาคตได้อย่างแม่นยำเสมอไป

ต้องอาศัยความอดทน:
วิธีนี้มักอาศัยให้ต้องรอราคาขยับถึงโซน Supply หรือ Demand ที่กำหนด ซึ่งอาจเป็นการทดสอบความอดทนของนักเทรด โดยเฉพาะในตลาดที่มีความผันผวนต่ำกว่า

โบรกเกอร์ Forex ที่ดีที่สุด 2024

1
9.4/10
เงินฝากขั้นต่ำ:
ไม่มีขั้นต่ำ
โบนัสการฝากเงิน:
0%
ระเบียบข้อบังคับ:
FSC (BVI), ASIC, IIROC, FCA, CFTC, NFA
2
9.2/10
เงินฝากขั้นต่ำ:
$10
โบนัสการฝากเงิน:
60%
ระเบียบข้อบังคับ:
FSC Belize

ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ

"การเทรดโซน Supply และ Demand ต้องอาศัยวินัยและความอดทน เนื่องจากราคามักตอบสนองต่อโซนเหล่านี้ นักเทรดจะต้องไม่มีอคติ และหลีกเลี่ยงการตัดสินใจที่ใช้อารมณ์เป็นหลัก การหาโซนใหม่แทนที่จะอาศัยเฉพาะโซนในอดีตเท่านั้นจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้ในสภาวะตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ประกอบกับการใช้แผนการบริหารความเสี่ยงที่เข้มงวดและการเข้าใจบริบทในตลาด จะช่วยให้การวิเคราะห์ Supply และ Demand ช่วยทำกำไรให้อย่างสม่ำเสมอได้"

Ivan Andriyenko

Ivan Andriyenko

ผู้เขียนที่ Traders Union

คำถามที่พบบ่อย

กลยุทธ์การเทรด Supply และ Demand ที่ดีที่สุดมีอะไรบ้าง?

กลยุทธ์การเทรด Supply และ Demand ที่ดีที่สุดมีอะไรบ้าง?

  1. กลยุทธ์ Range trading

  2. กลยุทธ์ Breakout

  3. การใช้ Supply และ Demand ในการบริหารความเสี่ยง

โซน Supply และ Demand ในบิทคอยน์คืออะไร?

โซน Supply และ Demand ในบิทคอยน์คือ บริเวณที่สำคัญบนกราฟราคาที่สะท้อนถึงกิจกรรมการซื้อและขายของนักเทรดในปริมาณมาก โซนเหล่านี้อาจส่งผลต่อราคาบิทคอยน์อย่างมีนัยสำคัญได้ คำกล่าวที่ว่าให้ “ซื้อถูก ขายแพง” มักหมายถึงที่โซนเหล่านี้ เนื่องจากเป็นโซนที่มีความสำคัญด้านจิตวิทยาที่นักเทรดมักจะเข้าร่วมในการทำธุรกรรม

นักเทรดจะหาโซน Supply และ Demand ได้อย่างไร?

นักเทรดสามารถหาโซน Supply และ Demand ได้โดยดูบริเวณที่ราคามีการกลับตัวอย่างรวดเร็วในอดีต ทำให้เกิดการขาดสมดุลที่ไม่ชัดเจนระหว่างแรงซื้อและแรงขาย

อินดิเคเตอร์ไหนเหมาะกับการเทรด Supply และ Demand มากที่สุด?

มีอินดิเคเตอร์หลายชนิดที่สามารถเลือกได้ แต่ละชนิดจะให้มุมมองที่แตกต่างกันไป Pivot Points (PP) และ Support & Resistance Zones เป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมมาก ซึ่งออกแบบมาเพื่อไฮไลต์การเคลื่อนที่ที่สำคัญจากสถาบันการเงินขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องคำนึงเสมอว่า ไม่มีอินดิเคเตอร์ใดที่แม่นยำโดยสมบูรณ์ และนักเทรดมักจะต้องผสมผสานอินดิเคเตอร์หลายแบบเพื่อพัฒนากลยุทธ์การเทรดเป็นของตนเอง

อภิธานศัพท์สำหรับเทรดเดอร์มือใหม่

  • 1 การบริหารความเสี่ยง

    การบริหารความเสี่ยงเป็นรูปแบบการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นในขณะที่เพิ่มผลกำไรสูงสุด เครื่องมือการจัดการความเสี่ยงหลักคือ Stop Loss, Take Profit, การคำนวณปริมาณตำแหน่งโดยพิจารณาจากเลเวอเรจและมูลค่า pip

  • 2 บิทคอยน์

    Bitcoin เป็นสกุลเงินดิจิทัลแบบกระจายอำนาจที่ถูกสร้างขึ้นในปี 2009 โดยบุคคลหรือกลุ่มที่ไม่ระบุชื่อโดยใช้นามแฝง Satoshi Nakamoto ทำงานบนเทคโนโลยีที่เรียกว่าบล็อคเชน ซึ่งเป็นบัญชีแยกประเภทแบบกระจายที่บันทึกธุรกรรมทั้งหมดผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

  • 3 ความผันผวน

    ความผันผวนหมายถึงระดับของการเปลี่ยนแปลงหรือความผันผวนของราคาหรือมูลค่าของสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น พันธบัตร หรือสกุลเงินดิจิทัล ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ความผันผวนที่สูงขึ้นบ่งชี้ว่าราคาของสินทรัพย์กำลังเผชิญกับการแกว่งของราคาที่มีนัยสำคัญและรวดเร็วมากขึ้น ในขณะที่ความผันผวนที่ลดลงบ่งบอกถึงการเคลื่อนไหวของราคาที่ค่อนข้างคงที่และค่อยเป็นค่อยไป

  • 4 การซื้อขาย

    การซื้อขายเกี่ยวข้องกับการซื้อและขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น สกุลเงิน หรือสินค้าโภคภัณฑ์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำกำไรจากความผันผวนของราคาในตลาด เทรดเดอร์ใช้กลยุทธ์ เทคนิคการวิเคราะห์ และแนวทางปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยงที่หลากหลาย เพื่อตัดสินใจอย่างมีข้อมูลและเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จในตลาดการเงิน

  • 5 ทำกำไร

    คำสั่ง Take-Profit คือคำสั่งการซื้อขายประเภทหนึ่งที่สั่งให้นายหน้าปิดสถานะเมื่อตลาดถึงระดับกำไรที่ระบุ

ทีมงานที่จัดทำบทความนี้

Johnathan Maverick
ผู้ให้ข้อมูล

Johnathan M. เป็นนักเขียนและนักลงทุนที่อยู่ในสหรัฐฯ และเป็นนักเขียนให้กับเว็บไซต์ Traders Union เขามีความเชี่ยวชาญหลังสองด้าน คือ การเงินและการลงทุน (โดยเฉพาะการเทรดฟอเร็กซ์ และการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์) และศาสนา/จิตวิญญาณ/การนั่งสมาธิ

ประสบการณ์ของเขา ได้แก่ การเขียนบทความให้กับ Investopedia.com ในฐานะหัวหน้านักเขียนให้กับรายการ Steve Pomeranz Show โปรแกรมทางวิทยุเกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคลในช่อง NPR นอกจากนี้ Jonathan ยังเป็นนักเทรดสกุลเงิน (ฟอเร็กซ์) ผู้มีประสบการณ์ในการลงทุนมากกว่า 20 ปีด้วย

Kate Stoytschew
บรรณาธิการภาคภาษาไทย

เคท สโตยเชฟ เป็นบรรณาธิการคนไทยที่ Traders Union เธอเรียนจบปริญญาตรีและปริญญาโทด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ความหลงรักในภาษาพาเธอมาพบกับอาชีพเสริมในฐานะนักแปลภาษาไทยและอังกฤษ จนผันตัวมาเป็นงานหลักที่เธอชื่นชอบ “ฉันสนใจในเรื่องการเงินและการลงทุนมาโดยตลอด ส่วนใหญ่จึงมักแปลงานหรือเขียนคอนเทนต์เกี่ยวกับเรื่องการเงิน การเทรดสัญญา CFDs และคริปโต” นอกจากความชอบในภาษาต่างประเทศแล้ว เธอยังสนใจในเรื่องประเด็นสังคมและการเมืองอีกด้วย เธอชอบใช้เวลาว่างกับครอบครัว ปรุงอาหารอร่อย ๆ และพยายามฝึกทักษะภาษาเยอรมัน

Mirjan Hipolito
ผู้เชี่ยวชาญด้านคริปโตและหุ้น

Mirjan Hipolito เป็นนักเขียนและบรรณาธิการข่าวที่ Traders Union เธอเป็นนักเเขียนที่เชี่ยวชาญเรื่องคริปโต มีประสบการณ์มากกว่าห้าปีในตลาดการเงิน เธอมีความชำนาญในการเขียนข่าวสารตลาดรายวัน การคาดการณ์ราคา และเรื่องการระดมทุนเพื่อเสนอขายเหรียญดิจิทัลใหม่ (ICO)